|
|
|
|
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
(๒๔๔๕ ๒๕๒๔)
วัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
อ่อน กาญวิบูลย์ |
|
|
เกิด |
|
วันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ |
|
|
บ้านเกิด |
|
ณ บ้านดอนเงิน ต.แชแล อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี |
|
|
บิดามารดา |
|
นายภูมีใหญ่ หรือ เมืองกลาง และนางบุญมา กาญวิบูลย์ อาชีพทำนา |
|
|
พี่น้อง |
|
รวมทั้งหมด ๒๐คน เลี้ยงจนเจริญเติบโตเพียง ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๘ ของผู้ที่ยังมีชีวิตรอดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ |
|
บรรพชา |
|
อายุ ๑๗ ปี พ.ศ.๒๔๖๒ วัดจอมศรีบ้านเมืองเก่า อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี |
|
อุปสมบท |
|
อายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ (มหานิกาย) ที่วัดบ้านปะโค ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี |
|
|
|
|
โดยมีพระครูจันทา (เจ้าอธิการ จันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ ญัตติเป็นพระธรรมยุต อายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๗ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ โดยมีพระครูชิโนวาทธำรง (หลวงปู่จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูอดิสัยคุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ท่านได้ถือกำหนดเกิดมาเพื่อ เลี้ยงโคฝูงถึง ๒๐๐ ตัว เลี้ยงหม่อนทำไหมและค้าขายต่าง ๆ พออายุได้ ๑๖ ปี |
|
|
|
|
ท่านได้ยินบิดามารดาของท่านพูดว่า การบวชนี้เป็นบุญมาก ดังนั้นท่านได้ขออนุญาตบิดามารดาบวชและได้ให้คำมั่นสัญญาว่า ถ้าได้บวชแล้วจะไม่สึก ดังนั้นบิดามารดาจึงนำตัวไปฝากให้เป็นศิษย์วัดกับ ท่านพระครูพิทักษ์คณานุการ สมัยแรก ๆ ท่านยังไม่เข้าใจหลักธรรมะปฏิบัติอันใดไม่เพียงแต่สวดมนต์ทำวัตรเท่านี้ พอเป็นนิสัยสมณเพศเท่านั้น ต่อมาสามเณรอ่อน ได้พบกับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่ง จ.สุรินทร์ คราวนี้จึงเกิดศรัทธา ที่จะออกปฏิบัติติดตาม หลวงปู่ดูลย์ไปอยู่ป่าหาวิเวกต่อไป
ครั้นอายุได้อุปสมบท ท่านก็ได้ สวดญัตติเป็นพระภิกษุสงฆ์กลายเป็นพระหนุ่มรูปร่าง ล่ำสันออกเที่ยวป่าอรรถธรรมต่อไป
ในระยะแรกที่ท่านบวชเป็นพระภิกษุนั้น ท่านยังอยู่ฝ่ายมหานิกาย ก็ได้เที่ยวหาครูบาอาจารย์ผู้ชำนาญพระกรรมฐานต่อไป
ขณะเดินธุดงค์ไปทางอำเภอท่าบ่อนั้น ท่านหลวงปู่อ่อน ได้เข้านมัสการ พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ ได้เรียนพระกรรมฐานอยู่กับท่าน ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ท่านจึงได้มีโอกาสพบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พร้อมกับถวายตัวเป็นศิษย์และขอญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติกายด้วย(โปรดทำความเข้าใจ ไม่ว่าครูบาอาจารย์องค์ใดๆ ที่เป็นศิษย์สายหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น เวลาจะพูดกราบเรียนกับพระอาจารย์ทั้งสองแล้วจะมีคำว่า เกล้า นำหน้าเสมอ)
ท่านจะมีคำนำหน้าว่า เกล้า ทุกประโยค
การแปรญัตตินั้น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านได้เมตตา ศรัทธาจัดหาเครื่องบริขารให้ทุกอย่าง หลวงปู่อ่อน ได้เดินทางไปญัตติ ณ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เมื่อเดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๖๗ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้เที่ยวอยู่ตามป่าดงพงไพรหลาย ๆ แห่ง ท่านเร่งรีบบำเพ็ญภาวนาด้วยจิตใจอันเด็ดเดี่ยว สถานที่อันเป็นสัปปายะแห่งสุดท้ายคือ ที่บ้านหนองบัวบาน ต่อมาท่านได้บำรุงสถานที่แห่งนี้จนเป็น วัดป่านิโครธาราม อันแสนสงบระงับดับจากกิเลสทั้งปวง และเป็นแหล่งสุดท้ายที่ท่านได้ถือเอาเป็นที่ดับซึ่งสังขารอันสุกงอม ย่อมร่วงหล่นไปตามกาลฯ เมื่อสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ รักษาจิต รู้จักหลักการพิจารณา
ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่มีความเมตตาเอาใจใส่แก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอ เมื่อพบท่าน ท่านจะสอนธรรมะก่อนทันที สุดแต่จะจับความนั้นมาพิจารณา การปลูกฝังคุณธรรมให้ฝังลึกสู่จิตใจของมนุษย์ที่มากหนาไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทานนั้น กว่าท่านทำสำเร็จ ก็เป็นงานที่มีภาระมากที่สุดและยากที่สุด!บัดนี้หลวงปู่ท่านสำเร็จกิจของท่านแล้ว ท่านได้ทิ้งความทรงจำ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เราผู้เป็นชนรุ่นหลังว่า ท่านพระอริยะ ศิษย์ผู้มีดวงตาเห็นธรรมองค์หนึ่ง ของพระบุพพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และเป็นปูชนียบุคคลองค์หนึ่งแห่งยุค!
|
|
มรณภาพ |
|
คืนวันพุธ ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๔ เวลา ๐๔.๐๐ น. ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ |
|
|
สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี ๕๘ พรรษา |
ธรรมโอวาท |
|
|
|
|
|
|
|
เราชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคไหนๆ ก็แล้วแต่ ที่ว่านี่หมายเอาหมด!
จงพยายามขวนขวายศึกษาธรรมเสียแต่บัดนี้ การศึกษาเรียนรู้ในทางธรรมนี้ ไม่ต้องมีกาล มีเวลา ธรรมมิได้อยู่ที่หนังสืออักษร จึงต้องค้นคว้า ขนาดนั้น และไม่ต้องเสียเงินเสียทองอันใดเลย ธรรมะอยู่ที่ใจของทุกๆคน ทำไมไม่มองกันล่ะ ธรรมะที่ว่านี้ไม่ต้องไปหาที่ไกลอื่น ธรรมมีพร้อมแล้วในตัวเอง ใครเป็นเจ้าของ เอาที่ตรงนั้น
เอ้า
ใครจะให้อาตมาไปบ้านบ้าง เพื่อจะได้นั่งนอนที่นั่นสักวันหนึ่ง ใจใช่บ่ ! ที่มันอยากให้อาตมาไปบ้านของโยมน่ะ
นั่นแหละ จับตัวอยากโน่น อยากนี่ ตัวนั้นแหละ จับตัวทรมานเสีย นั่นแหละ การทรมานก็ไม่ต้องไปเฆี่ยนไปตีมันดอกจะ โยมเพียงนั่งสมาธิ หลับตาเฉย ๆ เท่านั้นแหละ มันไม่ต้องเสียอะไรเลย ถ้ากำลังทำงานอยู่ บ่ต้องหลับตาหรอก ตั้งสติไว้เฉย ๆ จะทำอะไรก็ทำไป ให้มีสติรู้ตามทำอะไรถ้ามันผิดก็สอนมันอย่าให้มันทำ สิ่งไหนเป็นบุญเป็นกุศลก็ให้รู้เฉย ๆ จะทำอะไรก็ทำไป ให้มีสติรู้ตาม ทำอะไรถ้ามันผิดก็สอนมันอย่าให้มันทำ สิ่งไหนเป็นบุญเป็นกุศลก็ให้รู้เฉย ๆ ค่อยเร่งค่อยทำมันไป ผู้บริสุทธิ์ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ไม่กระทำความชั่วทั้งปวง นั่นเป็นเลิศ จำได้บ่
เออ
เอาอย่างนี้นะ...
ท่านได้ออกเที่ยวแพร่ธรรม สั่งสอนเราชาวพุทธให้ได้รู้จักการภาวนา รู้จักการรักษาศีล รู้จักการโจทิตา เทวทูเตหิ เย ปมชฺ ชนฺติมาณวา เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ หีนกายูปคา นรา คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นต้องเข้าถึงกายอันเลวเศร้าโศกสิ้นกาลนาน...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|